Skip to main content

จักรวรรดิอินคา เนื้อหา อารยธรรมอินคา ประวัติศาสตร์ ดูเพิ่ม อ้างอิง แหล่งข้อมูลอื่น รายการเลือกการนำทางThe Inca Empire. Created by Katrina Namnama & Kathleen DeGuzmanเที่ยวนี้ขอเล่า-อวสานอินคา

Multi tool use
Multi tool use

รัฐสิ้นสภาพในทวีปอเมริกาใต้ประวัติศาสตร์อเมริกาใต้จักรวรรดิอินคารัฐและดินแดนที่ก่อตั้งในคริสต์ศตวรรษที่ 15สิ้นสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 16


อังกฤษสเปนค.ศ. 14381533ทวีปอเมริกาใต้ยุคก่อนโคลัมบัสประเทศเปรูประเทศเอกวาดอร์ประเทศโคลอมเบียประเทศโบลิเวียประเทศชิลีประเทศอาร์เจนตินาภาษาเกชัวภาษาเกชัวกุสโกกีปูเกษตรกรรมยามาอูฐดวงอาทิตย์กุสโกมันโก กาปักซาปา อินคาปาชากูตีเทือกเขาแอนดีสสหพันธรัฐมาชูปิกชูตูปัก ยูปันกีฟรันซิสโก ปีซาร์โรอวสการ์อาตาอวลปาโรคฝีดาษกาคามาร์กา










(function()var node=document.getElementById("mw-dismissablenotice-anonplace");if(node)node.outerHTML="u003Cdiv class="mw-dismissable-notice"u003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-close"u003E[u003Ca tabindex="0" role="button"u003Eปิดu003C/au003E]u003C/divu003Eu003Cdiv class="mw-dismissable-notice-body"u003Eu003Cdiv id="localNotice" lang="th" dir="ltr"u003Eu003Cp class="mw-empty-elt"u003Eu003C/pu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003Eu003C/divu003E";());




จักรวรรดิอินคา




จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี






ไปยังการนำทาง
ไปยังการค้นหา






















































จักรวรรดิอินคา
Tawantinsuyu
ตาวันตินซูยู
จักรวรรดิ







ค.ศ. 1418–ค.ศ. 1533




จักรวรรดิอินคาขณะมีอาณาเขตกว้างขวางที่สุด


เมืองหลวง

กุสโก
(ค.ศ. 1438-1533)


ภาษา

ภาษาเกชัว (ทางการ) , ภาษาไอย์มารา, ภาษาปูกีนา, ตระกูลคากี, ภาษาโมชีกา และภาษาชนกลุ่มน้อยอีกหลายสิบภาษา

ศาสนา

ศาสนาอินคา

รัฐบาล

ราชาธิปไตย
จักรพรรดิแห่งอินคา
 - 

ค.ศ. 1438-1471
ปาชากูตี
 - ค.ศ. 1471-1493
ตูปัก ยูปังกี
 - ค.ศ. 1493-1527
อวยนา กาปัก
 - ค.ศ. 1527-1532
อวสการ์
 - ค.ศ. 1532-1533
อาตาอวลปา

ยุคประวัติศาสตร์
ก่อนโคลัมบัส
 - 
ปาชากูตีสถาปนาจักรวรรดิ

ค.ศ. 1418
 - 
สงครามระหว่างอวสการ์และอาตาอวลปา

ค.ศ. 1527-1532
 - ถูกสเปนเข้ายึดครอง

ค.ศ. 1533

พื้นที่
 - 
ค.ศ. 1438[1]
800,000 ตร.กม. (308,882 ตารางไมล์)
 - 
ค.ศ. 1527
2,000,000 ตร.กม. (772,204 ตารางไมล์)

ประชากร
 - 

ค.ศ. 1438[1]ประมาณการ
12,000,000 

     ความหนาแน่น
15 คน/ตร.กม.  (38.8 คน/ตารางไมล์)
 - 

ค.ศ. 1527 ประมาณการ
20,000,000 

     ความหนาแน่น
10 คน/ตร.กม.  (25.9 คน/ตารางไมล์)

จักรวรรดิอินคา (อังกฤษ: Inca Empire; สเปน: Imperio Incar) (ค.ศ. 1438-1533) เป็นจักรวรรดิโบราณที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนโคลัมบัส[2] จักรวรรดิอินคามีอำนาจขึ้นบริเวณที่ราบสูงของประเทศเปรูในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ช่วงปี ค.ศ. 1438 ถึง 1533 อินคาขยายอาณาจักรโดยทั้งสันติวิธีและวิธีทางการทหาร จนสามารถปกครองดินแดนส่วนใหญ่ทางด้านตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ซึ่งในปัจจุบันคือประเทศเปรู ประเทศเอกวาดอร์ ตอนใต้ของประเทศโคลอมเบีย ภาคตะวันตกและภาคใต้ของประเทศโบลิเวีย ตอนเหนือของประเทศชิลี และบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอาร์เจนตินา ชาวอินคาเชื่อว่ากษัตริย์ของตนเป็น "บุตรของพระอาทิตย์" ภาษาราชการคือภาษาเกชัว


ชื่อของจักรวรรดิอินคาในภาษาเกชัว คือ "ตาวันตินซูยู (Tawantinsuyo)" ซึ่งมีความหมายว่าภูมิภาคทั้งสี่[3] จักรวรรดิอินคาถูกแบ่งออกเป็นสี่เขต โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองกุสโก ซึ่งเป็นทั้งศูนย์กลางการปกครอง การเมืองและการทหาร




เนื้อหา





  • 1 อารยธรรมอินคา


  • 2 ประวัติศาสตร์

    • 2.1 ราชอาณาจักรกุสโก


    • 2.2 การเปลี่ยนระบบเป็นจักรวรรดิตาวันตินซูยู


    • 2.3 การขยายอาณาเขต


    • 2.4 การเข้ายึดครองของสเปน



  • 3 ดูเพิ่ม


  • 4 อ้างอิง


  • 5 แหล่งข้อมูลอื่น




อารยธรรมอินคา


ชาวอินคาไม่มีการประดิษฐ์ตัวอักษร แต่ชาวอินคามีการบันทึกโดยใช้การผูกเชือกหลากสีเป็นปมรูปแบบต่าง ๆ ที่เรียกว่ากีปู


สังคมอินคาเป็นสังคมที่มีการแบ่งวรรณะ โดยชาวอินคาที่มีวรรณะต่ำจะต้องมีหน้าที่ทำเกษตรกรรม และต้องนำผลิตผลที่ได้ไปถวายกษัตริย์อินคา


ชาวอินคาเลี้ยงยามา (llama) ซึ่งเป็นสัตว์ในตระกูลอูฐไว้เป็นสัตว์บรรทุกสัมภาระข้ามภูเขา


ชาวอินคาเชื่อว่าดวงอาทิตย์เป็นผู้ให้กำเนิดเผ่าพันธุ์ของตน และยังนับถือ ดวงจันทร์ ดาว และโลกด้วย หรือแม้แต่ภูเขา แม่น้ำ ต้นไม้ ชาวอินคาก็เชื่อว่ามีเทพเจ้าประจำ



ประวัติศาสตร์



ราชอาณาจักรกุสโก


ชาวอินคาเริ่มอาศัยในบริเวณกุสโกในคริสต์ศตวรรษที่ 12 พวกเขาตั้งนครรัฐกุสโกภายใต้การนำของมันโก กาปัก ในปี 1438 พวกเขาเริ่มขยายดินแดน ตามคำสั่งของซาปา อินคา ปาชากูตี จนทำให้นครรัฐเล็ก ๆ มีอำนาจควบคุมบริเวณส่วนใหญ่ของเทือกเขาแอนดีส



การเปลี่ยนระบบเป็นจักรวรรดิตาวันตินซูยู




การขยายอาณาเขตของอินคา (1438–1527)


ปาชากูตีจัดระบบราชอาณาจักรกุสโกใหม่ให้กลายเป็นจักรวรรดิตาวันตินซูยู ซึ่งใช้ระบบสหพันธรัฐ โดยมีรัฐบาลกลางที่มีกษัตริย์เป็นประมุข และรัฐบาลท้องถิ่นสี่เขต ได้แก่ชินไชย์ซูยู (เขตเหนือ) อันตีซูยู (เขตตะวันออก) กุนตีซูยู (เขตตะวันตก) และกูยาซูยู (เขตใต้) สันนิษฐานกันว่าปาชากูตีเป็นผู้สร้างมาชูปิกชูขึ้นเป็นบ้านพักในหน้าร้อน


ปาชากูตีมักส่งสายสืบไปหาข้อมูลเกี่ยวกับระบบการปกครอง อำนาจทางการทหารและความร่ำรวยของพื้นที่ที่พระองค์ต้องการจะขยายอาณาเขต แล้วจึงส่งสารอธิบายถึงประโยชน์ของการอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิไปยังหัวหน้าของดินแดนนั้น ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ตอบรับและถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโดยสันติ บุตรของผู้นำจะถูกนำตัวเข้ามายังกุสโกเพื่อให้ศึกษาระบบบริหารของอินคาแล้วจึงส่งกลับดินแดนของตน ซึ่งระบบนี้ทำให้ดินแดนใหม่รับแนวคิดของอินคาเข้าไป



การขยายอาณาเขต


ตูปัก ยูปันกี พระราชโอรสของปาชากูตีเริ่มบุกขึ้นทางเหนือใน 1463 และขยายอำนาจต่อเมื่อขึ้นดำรงตำแหน่งกษัตริย์หลังปาชากูตี ชัยชนะที่สำคัญที่สุดของพระองค์คือการเอาชนะราชอาณาจักรชีมอร์ ซึ่งเป็นศัตรูที่สำคัญของอินคาในเขตชายฝั่งเปรู ในสมัยของตูปัก จักรวรรดิขยายไปทางเหนือถึงบริเวณที่ในปัจจุบันคือประเทศเอกวาดอร์และโคลอมเบีย อวยนา กาปักซึ่งเป็นพระราชโอรสของตูปักสามารถขยายดินแดนส่วนเล็ก ๆ บริเวณเอกวาดอร์และบางส่วนของเปรู


ในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด จักรวรรดิตาวันตินซูยูครอบคลุมบริเวณเปรูและโบลิเวีย เกือบทั้งหมดของประเทศเอกวาดอร์ และดินแดนของชิลีจนถึงตอนเหนือของแม่น้ำเมาเล ซึ่งพวกอินคาโดนต่อต้านจากเผ่ามาปูเช นอกจากนี้ยังกินบริเวณไปถึงอาร์เจนตินาและโคลอมเบียอีกด้วย แต่เขตกูยาซูยูทางใต้พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้



การเข้ายึดครองของสเปน


กลุ่มนักสำรวจดินแดนชาวสเปนนำโดย ฟรันซิสโก ปีซาร์โร ได้เดินทางจากปานามาเพื่อสำรวจดินแดนทางใต้และค้นพบจักรวรรดิอินคาในปี ค.ศ. 1526 พวกเขาเห็นโอกาสที่จะได้ค้นพบมหาสมบัติในดินแดนแห่งนี้ จึงกลับมาสำรวจอีกครั้งในปี ค.ศ. 1529 และเดินทางกลับไปสเปนเพื่อขอพระราชานุญาตและกำลังสนับสนุนเพื่อยึดครองดินแดนอินคา เมื่อพวกเขากลับมายังเปรูในปี ค.ศ. 1532 บ้านเมืองอินคากำลังวุ่นวายและอ่อนแอเนื่องจากสงครามแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างอวสการ์กับอาตาอวลปาเพิ่งจบลง และเกิดโรคฝีดาษที่แพร่ระบาดมาจากอเมริกากลาง นับเป็นโชคร้ายของชาวอินคาที่มีข้าศึกบุกมาในช่วงเวลานี้


ปีซาร์โรมีกำลังทหารเพียง 168 คน ปืนใหญ่ 1 กระบอก และม้า 27 ตัว แต่เมื่อเปรียบเทียบกับชาวพื้นเมืองแล้ว นับว่าเขามีอาวุธและยุทธวิธีในการรบที่เหนือกว่ามาก กองทัพสเปนปะทะกับพวกอินคาที่เมืองกาคามาร์กา ในวันที่ 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1532 และสามารถจับตัวอาตาอวลปาไว้เป็นตัวประกัน อาตาอวลปาเห็นว่าชาวสเปนสนใจทองคำและเงินมาก จึงเสนอค่าไถ่เป็นทองปริมาณมากพอที่จะเติมห้องขนาดกว้าง 4.8 เมตร ยาว 6.2 เมตร ให้สูงถึง 2.5 เมตร และเงินปริมาณสองเท่าของห้องนั้น แต่เมื่อชาวอินคาสามารถหาค่าไถ่มาได้ ปีซาร์โรกลับไม่ยอมปล่อยตัวประกันตามสัญญา ระหว่างที่อาตาอวลปาถูกกักขัง อวสการ์ถูกลอบสังหารโดยที่ชาวสเปนอ้างว่าเป็นคำสั่งของอาตาอวลปา และพวกสเปนก็ใช้เหตุนี้มาเป็นข้อกล่าวหาในการประหารอาตาอวลปาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1533





มาชูปิกชู เมืองที่เป็นหลักฐานอารยธรรมอินคา



ดูเพิ่ม


  • ประวัติศาสตร์สเปน

  • จักรวรรดิแอซเท็ก


อ้างอิง



  • http://www.ipst.ac.th/magazine/mag131/131_57.pdf



  1. The Inca Empire. Created by Katrina Namnama & Kathleen DeGuzman


  2. Terence N. D'Altroy, The Incas, Blackwell Publishing, 2002, หน้า 2-3.


  3. ตาวันตินซูยู มาจากคำว่า "tawa" (สี่) เติมปัจจัย "-ntin" (ด้วยกันหรือรวมกัน) แล้วประสมกับคำว่า "suyu" (เขตแดนหรือแคว้น) ภูมิภาคทั้งสี่คือชินไชย์ซูยู (เขตเหนือ) อันตีซูยู (เขตตะวันออก แถบป่าดิบชื้นแอมะซอน) กุนตีซูยู (เขตตะวันตก) และกูยาซูยู (เขตใต้)




แหล่งข้อมูลอื่น


  • เที่ยวนี้ขอเล่า-อวสานอินคา






ดึงข้อมูลจาก "https://th.wikipedia.org/w/index.php?title=จักรวรรดิอินคา&oldid=8048417"










รายการเลือกการนำทาง



























(window.RLQ=window.RLQ||[]).push(function()mw.config.set("wgPageParseReport":"limitreport":"cputime":"0.240","walltime":"0.295","ppvisitednodes":"value":2105,"limit":1000000,"ppgeneratednodes":"value":0,"limit":1500000,"postexpandincludesize":"value":88245,"limit":2097152,"templateargumentsize":"value":7066,"limit":2097152,"expansiondepth":"value":9,"limit":40,"expensivefunctioncount":"value":7,"limit":500,"unstrip-depth":"value":0,"limit":20,"unstrip-size":"value":1688,"limit":5000000,"entityaccesscount":"value":0,"limit":400,"timingprofile":["100.00% 192.935 1 -total"," 64.08% 123.639 1 แม่แบบ:กล่องข้อมูล_อดีตประเทศ"," 14.91% 28.759 1 แม่แบบ:จักรวรรดิ"," 13.44% 25.936 1 แม่แบบ:รายการอ้างอิง"," 12.77% 24.633 1 แม่แบบ:Navbox"," 8.74% 16.854 2 แม่แบบ:Nbsp"," 7.69% 14.845 2 แม่แบบ:Loop"," 3.18% 6.144 2 แม่แบบ:Nowrap"," 2.36% 4.556 1 แม่แบบ:Lang-en"," 1.76% 3.390 1 แม่แบบ:จบอ้างอิง"],"scribunto":"limitreport-timeusage":"value":"0.010","limit":"10.000","limitreport-memusage":"value":785229,"limit":52428800,"cachereport":"origin":"mw1309","timestamp":"20190310191735","ttl":2592000,"transientcontent":false);mw.config.set("wgBackendResponseTime":110,"wgHostname":"mw1272"););VtvpFNFM1N6ceCX7RH2OfERKw lcJbdd9 abD0dVfRzfamtia GVtMQPheEMtDzwvlY,WAWYEEsrLA
CfAV8m,vSze,PBBQFRrwmGBgRbphGuQ,jwp

Popular posts from this blog

UTC+3 Landen en gebieden met zomertijd Landen en gebieden zonder zomertijd Externe link NavigatiemenuSteden in UTC+3

Error: MikTex console already running The Next CEO of Stack OverflowMikTex Console already runningWhy Windows API 5 error when running initexmf in MiKTeX?LyX & MiKTeX installation problems on Windows 7Missing .dll file prevents MiKTeX package manager from openingMikTeX Update corrupts the installationMikTeX 2.9 does not respond under Windows 10 Pro 64 bitError with BibTeX when compiling in MiKTeXProblem installing MikTex 2.9 on Windows 10 (64 bit)Unable to uninstall MikTeX from Windows 10MikTex Console already runningMikTeX Console stop working